บัญชีเงินฝากประจำทันใจ ประเภทสมุดคู่เงินฝาก

รายละเอียด
บัญชีเงินฝากประจำทันใจ ที่มีระยะเวลาการฝาก 12 เดือน โดยให้ดอกเบี้ยสูง และได้รับดอกเบี้ยทันที ณ วันฝาก สามารถถอนดอกเบี้ยไปใช้ได้เลย ไม่ต้องรอจนครบกำหนด
สิทธิประโยชน์ และจุดเด่น
- รับดอกเบี้ยทันที ณ วันฝาก (กรณีนำฝากด้วยเงินสด)
เงื่อนไขบริการ
- ให้บริการผู้ฝากประเภทบุคคลธรรมดาเท่านั้น (ไม่รับเปิดบัญชีร่วม, บัญชี ”และ”, บัญชี ”หรือ”)
- เปิดบัญชีขั้นต่ำ หรือ ฝากต่อเมื่อครบกำหนดตั้งแต่ 100,000 บาท สูงสุดต่อรายไม่เกิน 1,500,000 บาท
- การจ่ายดอกเบี้ยทันทีเมื่อฝากด้วยเงินสด ณ วันที่เปิดบัญชีหรือฝากต่อ และหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของจำนวนดอกเบี้ยที่ได้รับตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร (กรณีฝากด้วยเช็คจะจ่ายดอกเบี้ยเมื่อทราบผลเรียกเก็บเช็คนั้น)
- สำหรับดอกเบี้ยหากไม่ได้ถอนออก หรือ นำเงินมาฝากเพิ่มหลังจากวันเปิดบัญชีหรือฝากต่อ ธนาคารจะถือเป็นเงินฝากส่วนที่เกินจากจำนวนเงินเปิดบัญชีครั้งแรก หรือ จำนวนเงินที่ฝากต่อ และจะคำนวณดอกเบี้ยให้ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และหักภาษี ณ ที่จ่าย (ตั้งแต่บาทแรก)
- สามารถถอนเงินฝากส่วนเกินได้ทั้งจำนวน แต่ไม่สามารถถอนเงินฝากบางส่วนของเงินต้นที่รับดอกเบี้ย ณ วันฝาก (เงินต้นครั้งแรกที่เปิดบัญชี หรือ ฝากต่อ) หากถอนบางส่วนจนทำให้เงินต้นลดลงต่ำกว่าจำนวนเงินเปิดบัญชีหรือฝากต่อต้องปิดบัญชีเท่านั้น
- กรณีถอนเงินต้น หรือ ปิดบัญชี ก่อนครบกำหนดระยะเวลาการฝาก หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบัญชีเงินฝากประจำทันใจ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ผิดเงื่อนไข (หลังหักภาษี ณ ที่จ่าย) ตามระยะเวลาที่ฝากเงินนั้น สำหรับดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายเกินไป (รวมภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย) ธนาคารจะหักคืนจากเงินต้นที่ฝากไว้กับธนาคาร (ทั้งนี้ลูกค้าต้องเป็นผู้ขอคืนภาษี หัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวจากสรรพากรด้วยตนเอง)
- เมื่อครบระยะเวลาการฝาก ลูกค้าต้องมาแจ้งความประสงค์ในการฝากต่อเป็นบัญชีเงินฝากประจำทันใจ หรือ ประสงค์ฝากประเภทบัญชีเงินฝากประเภทอื่นๆ ของธนาคาร ในช่วงระยะเวลานี้ให้ผู้ฝากติดต่อแจ้งความประสงค์ที่สาขาที่เปิดบัญชีตั้งแต่วันที่ครบกำหนดเป็นระยะเวลา 1 เดือน (ช่วงระยะเวลาให้ผู้ฝากติดต่อธนาคาร) และคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยตามประกาศในขณะนั้น จากยอดคงเหลือในบัญชีทุกสิ้นวัน และจ่ายดอกเบี้ย ณ วันที่ผู้ฝากติดต่อสาขาที่เปิดบัญชีแจ้งความประสงค์ฝากต่อเป็นบัญชีเงินฝากประจำทันใจ หรือ วันที่พ้นระยะเวลา 1 เดือน นับจากวันที่เงินฝากครบกำหนด หักภาษี ณ ที่จ่าย (ตั้งแต่บาทแรก)
- หากบัญชีเงินฝากประจำทันใจครบกำหนดผู้ฝากไม่มาติดต่อที่สาขาที่เปิดบัญชีภายในระยะเวลา 1 เดือน นับจากวันที่เงินฝากครบกำหนด บัญชีดังกล่าวจะถูกโอนอัตโนมัติเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั้งจำนวน และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของธนาคาร
เอกสารประกอบการเปิดบัญชี
บุคคลธรรมดา
- บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
หมายเหตุ :
1. การปิดบัญชี สามารถปิดบัญชีได้เฉพาะสาขาที่เปิดบัญชี และต้องทำการปิดบัญชีด้วยตนเองเท่านั้น
2. ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ให้เป็นไปตามประกาศของธนาคาร
3. อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก / อัตราค่าธรรมเนียมและบริการอื่นๆ เป็นไปตามประกาศและระเบียบที่ธนาคารกำหนด
4. เงินฝากนี้ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกฏหมาย
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
คำถามที่พบบ่อย
ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ในอัตราตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ธนาคารไม่รับฝากต่ออัตโนมัติ ทั้งนี้ มีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากบัญชีครบกำหนดระยะเวลาฝาก เพื่อให้เจ้าของบัญชีติดต่อสาขาที่เปิดบัญชีด้วยตนเอง เพื่อพิจารณาฝากต่อหรือเปลี่ยนแปลงการฝาก
บัญชีจะถูกโอนอัตโนมัติเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั้งจำนวน และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของธนาคาร ทั้งนี้ เจ้าของบัญชีต้องติดต่อสาขาที่เปิดบัญชีด้วยตนเองเท่านั้นเพื่อเปลี่ยนสมุดคู่ฝากเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมฝาก-ถอนได้ตามปกติ
- สำหรับบัญชีที่ถูกโอนอัตโนมัติเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และมีบัญชีเงินฝากไม่เคลื่อนไหวติดต่อกันตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (ใช้หลักเกณฑ์ 1 ปี มี 365 วัน) บัญชีจะถูกเปลี่ยนสถานะเป็นบัญชีไม่เคลื่อนไหว (Dormant) ทั้งนี้ ธนาคารจะส่งจดหมายแจ้งบัญชีไม่เคลื่อนไหวไปตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับธนาคาร เพื่อแจ้งให้ท่านติดต่อธนาคารเพื่อทำการเดินบัญชี
- เมื่อบัญชีมีสถานะเป็นบัญชีไม่เคลื่อนไหว (Dormant) และมียอดเงินคงเหลือในบัญชีต่ำกว่า 500 บาท ธนาคารจะคิดค่ารักษาบัญชี 50 บาทต่อเดือน และหากหักเงินจนทำให้ยอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับ 0 บาท ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการปิดบัญชีอัตโนมัติ
(1) เจ้าของบัญชีต้องติดต่อสาขาที่เปิดบัญชีด้วยตนเองเพื่อเปลี่ยนสมุดคู่ฝาก และแจ้งความประสงค์ขอเคลื่อนไหวบัญชี
(2) กรณีเคยเปลี่ยนสมุดบัญชีเป็นสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เรียบร้อยแล้ว สามารถแจ้งความประสงค์ขอเคลื่อนไหวบัญชีได้ทุกสาขา
(3) กรณีมอบฉันทะ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเคลื่อนไหวบัญชี ได้เฉพาะสาขาเจ้าของบัญชีเท่านั้น ทั้งนี้ เจ้าของบัญชีต้องดำเนินการในข้อ (1) เรียบร้อยแล้ว
เอกสารประกอบ
1. บัตรประชาชน
2. สมุดบัญชี
สามารถแจ้งความประสงค์ขอข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยเงินฝาก หรือหนังสือรับรองดอกเบี้ยหัก ณ ที่จ่าย ได้ที่สาขาเจ้าของบัญชีด้วยตนเอง (ไม่สามารถมอบอำนาจได้)
- แจ้งล่วงหน้า 1 วัน ก่อนเวลา 15.30 น.
การแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงข้อมูล ต้องดำเนินการด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบฉันทะได้
- การขอเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล แจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ที่สาขาเจ้าของบัญชีด้วยตนเอง
เอกสารที่ต้องใช้ :- บัตรประชาชน
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
- สมุดบัญชีเงินฝาก
- กรณีอื่น ๆ เช่น เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, e-mail address แจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ได้ทุกสาขาด้วยตนเอง
เอกสารที่ต้องใช้ :- บัตรประชาชน
- สมุดบัญชีเงินฝาก
เจ้าของบัญชี ติดต่อที่สาขาเจ้าของบัญชีด้วยตนเอง (ไม่สามารถมอบฉันทะได้)
เอกสารที่ต้องใช้
- บัตรประประชาชน
- ใบแจ้งความ (สามารถใช้ใบแจ้งความ online ได้)
ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง ห้ามมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน ติดต่อที่สาขาเจ้าของบัญชีเท่านั้น
เอกสารที่ต้องใช้
- คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
- ใบสำคัญแสดงคดีสิ้นสุด
- ใบมรณะบัตร
- สมุดบัญชีเงินฝาก
- บัตรประชาชนของผู้รับเงิน (ผู้จัดการมรดก)
- บัตรประชาชนของผู้ตาย
- ทะเบียนบ้านของผู้จัดการมรดก
- ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
ผู้อนุบาลตามคำสั่งศาล ต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง ห้ามมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน ติดต่อที่สาขาเจ้าของบัญชีเท่านั้น
เอกสารที่ต้องใช้
- คำสั่งศาลแต่งตั้งผู้อนุบาล (บุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ)
- บัตรประชาชนของผู้อนุบาล
- ทะเบียนบ้านของผู้อนุบาล
- บัตรประชาชนของผู้ไร้ความสามารถ
- ทะเบียนบ้านของผู้ไร้ความสามารถ
- สมุดบัญชีเงินฝาก
ช่องทางการติดต่อ


