
6 ข้อมูลส่วนตัว ที่ไม่ควรโพสต์บนโลกออนไลน์

6 สิ่งที่แบงก์ชาติไม่ได้ทำ แต่มักถูกแอบอ้าง

Top 5 กลโกงมิจฉาชีพ ปี 2025

แบงก์ชาติเตือนภัย โครงการคุณสู้เราช่วย ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว
อย่าเชื่อ อย่าแอด อย่าโอน ธนาคารจะไม่ส่งลิงก์ให้แอดไลน์ !! ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ

6 จุดสังเกต หลอกลวงเรื่องที่พักบนแพลตฟอร์มออนไลน์
การจองที่พักผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนการเดินทาง ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือภัยหลอกลวงที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นด้วยวิธีการที่ซับซ้อนและหลอกลวงผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ เรามาทำความเข้าใจกับ 6 จุดสังเกต หลอกลวงเรื่องที่พักบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และแนวทางป้องกันอย่างมืออาชีพ

เตือนภัย ! มุกหลอกช่วยปิดหนี้ เคลียร์หนี้หมด หลอกให้กู้หรือลงทุนต่อ เป็นหนี้เยอะกว่าเดิมหลายเท่า
“มีสติทุกครั้ง” ต้องการปิดหนี้ ติดต่อธนาคารโดยตรง

เตือนภัย! กลลวงใหม่ มิจฉาชีพเปิดเพจรับซื้อรูปถ่าย

แจ้งความผ่านไลน์ = มิจฉาชีพ
ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย ไม่รับแจ้งความหรือให้ความช่วยเหลือเหยื่อคดีไซเบอร์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์

ระวัง! มิจฉาชีพปลอมเป็นคนรู้จัก โทรมาขอยืมเงิน
หากพบเจอเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าว ให้ลองถามข้อมูลให้ลึกขึ้นดูก่อน หรือปรึกษาบุคคลรอบข้าง โดยหลีกเลี่ยงการโอนเงินโดยตรง และไม่โอนเงินให้กับบุคคลที่มีชื่อบัญชีไม่ตรงกับคนที่เราจะโอนเงินให้

สมาร์ตวอตช์ ก็ถูกแฮกข้อมูลได้นะ
• แฮกเกอร์จะดักสัญญาณ Beacon หรือ เทคโนโลยี Bluetooth Low Energy (BLE) ซึ่งเป็นสัญญาณเชื่อมต่อใช้ส่งข้อมูลระหว่างสมาร์ตวอตช์และสมาร์ตโฟน • หลังจากนั้นจะติดตั้ง มัลแวร์ผ่านบลูทูธ หรือใส่โค้ดอันตรายไว้ในแอปบนสมาร์ตวอตช์เพื่อดักข้อมูล • หากใช้แอปพลิเคชันในการชำระเงิน แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต ตำแหน่งที่อยู่ของคุณ รวมถึงข้อมูลการสนทนาต่างๆ

ผู้ใช้ IPhone โปรดระวัง หากมีแจ้งเตือนในลักษณะนี้ ห้ามกดอนุญาต เด็ดขาด
เมื่อกดไม่อนุญาตแล้ว แนะนำให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่าน และเปิดการเข้าระบบแบบ 2 ชั้น (2FA) ในทันที

มิจฉาชีพหลอกสแกนใบหน้า ขโมยข้อมูล ลวงไปเป็นบัญชีม้า
อุบายมิจฉาชีพ • อ้างเป็นเจ้าหน้าที่อำเภอ หรือหน่วยงานรัฐอื่นๆ ตระเวนไปตามชุมชน หมู่บ้าน • อ้างขอข้อมูลบัตรประชาชน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ถ่ายภาพ หลอกให้สแกน ใบหน้า แลกไข่ไก่ บะหมี่ น้ำมันพืช ฯลฯ • อ้างช่วยกรอกข้อมูลลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐรับเงิน 10,000 บาท • มักเลือกเหยื่อเป็นคนชรา ที่อยู่กันตามลำพัง

มัมหมี ระวังมิจจี้!! เว็บปลอมระบาด หลอกฮีลใจ ทำบุญกับน้องเนย
ข้อมูลฮีลใจและได้ทำบุญไปพร้อมกับน้องเนย • บัตรคิวราคา 250 บาท • วันละ 60 คิว • รายได้ทั้งหมดบริจาคให้รพ.ศิริราช • จองคิวออนไลน์

โหลดเลย! แอป 3 ชั้น ตรวจ แจ้ง ล็อก ปกป้องสิทธิของผู้ใช้
แอปพลิเคชันจาก กสทช ช่วยป้องกันการลักลอบนำเบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งถูกลงทะเบียนโดยใช้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ไปใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ ส่งผลให้เกิดผลกระทบร้ายแรง

ห้ามกดเด็ดขาด!! หากได้รับ SMS รับเงิน Digital Wallet
หากมี SMS แนบลิงก์ให้กดรับเงินเพื่อยืนยันตัวตน บอกว่าท่านได้รับเงิน Digital Wallet ห้ามกดเด็ดขาด อาจโดนมิจฉาชีพหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกติดตั้งแอปที่ไม่พึงประสงค์ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการ ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567 สามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทารรัฐ” ช่องทางเดียว เท่านั้น อย่าหลงเชื่อ SMS หรือเว็บไซต์ที่หลอกให้กดลิงก์เกี่ยวกับการลงทะเบียนรับเงิน Digital Wallet โดยเด็ดขาด

ลูกค้ามาเยี่ยงมิจ! พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์พึงระวัง
- ทักใต้โพสต์ว่าสนใจซื้อของ - ให้พ่อค้าแม่ค้าแอดไลน์ไปหา - ชักชวนเข้ากลุ่มไลน์ Open Chat ที่มีหน้าม้าซื้อขายของ - ให้สมัครสมาชิกที่ได้ค่าคอมมิชชัน - ให้โอนเงินมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถอนเงินออกมาไม่ได้

ทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหา? โอนเงินผิดบัญชี/ผิดจำนวนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีระบบการชำระเงินที่ทันสมัยทำให้การจ่ายหรือโอนเงินกลายเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสัมผัส แต่ผู้ใช้บริการเองก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานเช่นกัน เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องโอนเงินผิดบัญชี ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เราโอนผิดเอง หรือมีคนโอนผิดมาที่เรา แล้วไม่รู้ว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร “สมาคมธนาคารไทย” ขอแบ่งปันวิธีการที่ถูกต้องในการจัดการกับปัญหาเรื่องนี้

4 พฤติกรรมเสี่ยงภัยไซเบอร์
1.ชอบใช้ Wifi ฟรี 2.เชื่อคนง่าย ใจอ่อน 3.เปิดเผยทุกสิ่ง 4.ตั้งรหัสผ่าน (password) ที่เดาง่าย

5 กลลวงมิจฉาชีพแฝงตัวใน TikTok
1.หลอกลงทุน หลอกแจกเงิน 2.หลอกไปทำงาน 3.หลอกกดหัวใจ กดไลก์ 4.ข้อความ Phishing 5.Dropshipping ที่ไม่มีอยู่จริง

วิธีเช็กเพจปลอมก่อนโอนจองที่พัก
สิ่งที่ต้องตรวจสอบ 1.ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจว่ามีการเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่ ผู้จัดการเพจอยู่ในประเทศใด 2.ตรวจสอบรายละเอียดผู้ติดตาม เช่น เพจปลอมอาจปิดการมองเห็นยอดผู้ติดตาม หรือมีการสร้างยอดผู้ติดตามปลอมไว้ที่รายละเอียดของเพจ ซึ่งคล้ายกับจำนวนผู้ติดตามของจริง 3.สังเกตชื่อเพจว่าสะกดถูกต้องหรือไม่ เพราะมิจฉาชีพอาจใส่จุดหรืออักขระพิเศษเพื่อเลียนแบบเพจจริง 4.สังเกตการโพสเนื้อหา การโต้ตอบในเพจ รีวิวจากผู้พักจริง เช่น มีการกดโกรธในโพสต์ต่างๆ ให้สงสัยได้เลยว่าเป็นเพจปลอม 5.ก่อนโอนจองให้ดูชื่อบัญชีที่โอนว่าตรงกับชื่อเจ้าของที่พัก หรือเป็นบัญชีชื่อของที่พักนั้นจริงหรือไม่

มิจฯ แฝงตัวรับแลกเงินผ่าน Shopee Spaylater
Shopee SPayleter คืออะไร? สินเชื่อสำหรับซื้อสินค้าและบริการผ่าน แอปพลิเคชัน Shopee ลักษณะการใช้งาน คือใช้วงเงินชำระไปก่อนแล้วค่อนำเงินโอนมาชำระยอดการใช้งานตามรอบบิลบริการ โดยสามารถใช้ชำระค่าสินค้า และบิลค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ได้อีกด้วย รูปแบบการผ่อนชำระคล้ายกับบัตรเครดิต แต่จะแตกต่างตารงที่ Shopee SPayleter ไม่มีการตรวจสอบรายได้ผู้ขอใช้บริการ ทำให้บริการดังกล่าวสมัครใช้งานได้ง่าย