คำถามที่พบบ่อย

คุณสมบัติ
คำถามที่พบบ่อย
คำถาม | คำตอบ | |
---|---|---|
1. | บริการพร้อมเพย์ (Prompt Pay) คือ บริการอะไร? | บริการพร้อมเพย์ (Prompt Pay) หรือเดิมใช้ชื่อว่า เอนี่ ไอดี (Any ID) เป็นการให้บริการรับ-โอนเงินระหว่างกันแบบใหม่โดยไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีธนาคารใช้เพียงแค่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ เลขประจำตัวประชาชน ผ่านช่องทางต่างๆเช่น Internet Banking/ Mobile Banking/ ATM และเคาน์เตอร์สาขาธนาคาร ตามที่แต่ละธนาคารกำหนด ทำให้การโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์มีความสะดวกสบายและปลอดภัยทั้งนี้ บริการพร้อมเพย์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน |
2. | ลูกค้าได้ประโยชน์จากการสมัครบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) อย่างไร? |
|
3. | การลงทะเบียนผูกบัญชีเพื่อใช้บริการพร้อมเพย์ต้องเตรียมอะไรบ้าง? | บุคคลทั่วไปสามารถขอลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือ เลขประจำตัวประชาชน ธนาคารไทยเครดิต เปิดให้บริการลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝาก ผ่านช่องทางสาขาของธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป โดยมีเอกสารพื้นฐานที่ต้องใช้ประกอบการลงทะเบียนตามที่ธนาคารกำหนด ดังนี้ ช่องทางลงทะเบียนหลัก
ข้อมูล/เอกสารที่จำเป็น
|
4. | จะเริ่มลงทะเบียนบริการ พร้อมเพย์ได้เมื่อไหร่ ? | ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ระบบกลางจะเปิดให้ทุกธนาคารลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีพร้อมกัน ซึ่งธนาคารสามารถแจ้งผลการลงทะเบียนให้ผู้ใช้บริการทราบในทันที และไม่มีกำหนดการปิดลงทะเบียน |
5. | จะเริ่มใช้บริการพร้อมเพย์ ได้ เมื่อไหร่ ? | คาดว่าภายในเดือนตุลาคม 2559 ทุกธนาคารที่เข้าร่วมจะเริ่มให้บริการรับ-โอนเงินรายย่อยผ่านบริการพร้อมเพย์โดยอ้างอิงเลขประจำตัวประชาชนหรือหมายเลข โทรศัพท์มือถือ |
6. | ต้องรีบมาลงทะเบียนหรือไม่ ไม่ลงทะเบียนได้หรือไม่ ? | การลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์เป็นการลงทะเบียนแบบสมัครใจ แต่ควรเริ่มทยอย ลงทะเบียนตามความต้องการใช้งาน โดยรัฐบาลมีการคืน ภาษีต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนผ่าน เลขประจำตัวประชาชน ดังนั้นผู้ที่จะรับ สวัสดิการต่าง ๆ จากรัฐบาลควรเริ่มทยอยมาลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์โดยผูกบัญชีเงินฝากของตนเองกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน |
7. | การลงทะเบียนบริการ พร้อมเพย์มีค่าใช้จ่ายหรือไม่? | ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน |
8. | ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ต้อง สมัครใช้บริการพร้อมเพย์หรือไม่ ? | กรณีโอนเงินโดยใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชน
|
9. | สามารถผูกหมายเลข โทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชนได้กี่บัญชีกี่ธนาคาร ? |
|
10. | บริการพร้อมเพย์ปลอดภัย หรือไม่ ? | บริการพร้อมเพย์มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่างๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน |
11. | มีบัญชีเงินฝากหลายบัญชีหลายธนาคาร แต่มีหมายเลข โทรศัพท์มือถือเพียงหมายเลขเดียว ควรเลือกผูกกับบัญชีไหนดี และธนาคารไหนดี? | การตัดสินใจเลือกผูกบัญชีเงินฝากของธนาคารใด ๆ กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือ เลขประจาตัวประชาชน ควรขึ้นกับความสะดวกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเอง และหากได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไปแล้ว สามารถที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูก บัญชีดังกล่าวได้ในภายหลัง โดยสามารถยกเลิกได้ที่สาขาของธนาคารทุกสาขา |
12. | ถ้าลงทะเบียนบริการ พร้อมเพย์ไปแล้ว ต่อมามีการ ย้ายค่ายโทรศัพท์มือถือ โดยยังใช้หมายเลขเดิม จะต้องทำอย่างไร หรือ หากเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์มือถือใหม่ ต้องทำอย่างไร ? | ท่านไม่ต้องดำเนินการอะไรเพิ่มเติมกับธนาคาร เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อการ ลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝาก หรือ การใช้บริการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์แต่อย่างใด |
13. | หากเลิกใช้/ยกเลิกหมายเลข โทรศัพท์มือถือผูกบัญชีไปแล้ว หรือ เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่จะต้องทำอย่างไร ? | ขอให้ท่านแจ้งยกเลิกการผูกบัญชีให้สาขาธนาคารเจ้าของบัญชีรับทราบเพื่อทำการยกเลิกการผูกบัญชีในระบบโดยเร็ว ส่วนหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่บริการรับเงินโอนผ่านบริการพร้อมเพย์ ท่านต้องลงทะเบียนเพื่อผูกหมายเลข โทรศัพท์มือถือใหม่นั้นกับบัญชีเงินฝากของท่านอีกครั้งหนึ่ง |
14. | สามารถโอนเงินผ่านบริการ พร้อมเพย์ ไปยังบัญชีของ ธนาคารในต่างประเทศ หรือโอนเงินจากธนาคาร ในต่างประเทศมาเข้าบัญชีของธนาคารในประเทศไทยได้หรือไม่ ? | ไม่ได้ เนื่องจากบริการพร้อมเพย์เป็นการให้บริการโอนเงินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น |
15. | สามารถใช้หมายเลข โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน(Prepaid) ได้หรือไม่? | ถ้าหมายเลขโทรศัพท์มือถือลงทะเบียนด้วยชื่อของท่าน สามารถนำมาลงทะเบียนได้ โดยดำเนินการตามเงื่อนไขของธนาคาร โดยลูกค้าจักต้องแสดงข้อมูลและหลักฐานความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์ตามขั้นตอนของธนาคารที่กำหนด เช่น ลูกค้าต้องแสดงความเป็นเจ้าของผ่านระบบ OTP / USSD หรือ CDI ตามที่ธนาคารกำหนด |
16. | สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์ บ้านได้หรือไม่ ? | ไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขได้ด้วยการส่งรหัส SMS OTP (One Time Password) |
17. | ถ้าลูกค้ายังไม่เปลี่ยนบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ดจะสามารถใช้บริการพร้อมเพย์ได้หรือไม่ ? | สามารถใช้บริการได้ เนื่องจากระบบไม่ได้เกี่ยวข้องกัน |
18. | ข้อมูลในบริการพร้อมเพย์ถูกนำไปเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ดหรือไม่ ? | ไม่ได้ถูกเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด แต่ถูกเก็บไว้ในระบบกลางที่มีความปลอดภัยสูง และระบบสำรองที่มั่นคง |
19. | เมื่อมีบริการพร้อมเพย์แล้ว จะสามารถใช้ธุรกรรมการโอน เงินแบบเดิมของธนาคารได้หรือไม่ ? | ใช้ได้ตามปกติ |
20. | บริการพร้อมเพย์ มีการ กำหนดจำนวนการโอน วงเงิน และจำนวนเงินสูงสุดในการ โอนต่อรายการ และต่อวันเท่าไร ? |
|
21. | บุคคลต่างด้าว สามารถใช้ บริการพร้อมเพย์ได้หรือไม่ ? | ปัจจุบันธนาคารไทยเครดิตให้บริการพร้อมเพย์แก่ลูกค้าที่เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีเลขบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น |
22. | ข้อพึงระวังในการใช้บริการ พร้อมเพย์มีอะไรบ้าง? | ตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ผู้รับโอนเงินให้ถูกต้องก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง |
23. | บัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตรATM สามารถสมัครบริการพร้อมเพย์ได้หรือไม่ ? | บัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตร ATM สามารถลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ได้ |
24. | หากผู้ใช้บริการได้ใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือกับ Mobile Banking ของธนาคารไหนในปัจจุบันแล้ว จำเป็นต้อง ลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์อีกหรือไม่? | ถ้าต้องการใช้บริการพร้อมเพย์ ก็ต้องทำการลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์ด้วย |
25. | หากผู้ใช้บริการได้ใช้หมายเลข โทรศัพท์มือถือกับ Mobile Banking ของธนาคารไหนแล้ว จำเป็นต้องใช้เลขที่บัญชีของธนาคารนั้นผูกกับ หมายเลขโทรศัพท์มือถือที่จะใช้บริการพร้อมเพย์หรือไม่? | ไม่จำเป็น การผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับ Mobile Banking เป็นคนละระบบกับการลงทะเบียนผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีในบริการพร้อมเพย์ |
26. | หากการโอนเงินผ่านบริการ พร้อมเพย์มีความผิดพลาด เช่น เงินตัดต้นทางแต่ไม่เข้า ปลายทาง หรือโอนเงินผิด จะทำอย่างไร ? | ผู้ใช้บริการควรเก็บรายละเอียดหรือหลักฐานการโอนเงินต่างๆ และแจ้งกับธนาคาร ต้นทางเพื่อทำการตรวจสอบ ธนาคารมีกระบวนการรองรับปัญหานี้อยู่แล้ว ซึ่งเป็น กระบวนการที่เหมือนกับการแก้ปัญหาการโอนเงินในระบบปัจจุบัน |
27. | หากหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ของผู้รับโอนเงินโดนระงับ สัญญาณ การโอนเงินผ่าน บริการพร้อมเพย์จะสำเร็จหรือไม่? | ยังสามารถทำการโอนเงินได้ |
28. | หากหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ของผู้รับโอนเงินยกเลิก บริการไปแล้ว การโอนเงิน ผ่านบริการพร้อมเพย์จะสำเร็จหรือไม่? | กรณีหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอนเงินมีการยกเลิกบริการผ่านเครือข่าย โทรศัพท์มือถือแล้ว ข้อมูลการยกเลิกดังกล่าวจะถูกนำมายกเลิกการลงทะเบียนที่ ฐานข้อมูลบริการพร้อมเพย์ของธนาคารด้วย ทำให้ผู้โอนเงินไม่สามารถโอนเงินเข้า หมายเลขโทรศัพท์มือถือนั้นได้ |
29. | อัตราค่าธรรมเนียมพร้อมเพย์ในการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น | โครงสร้างค่าธรรมเนียมบริการพร้อมเพย์ ที่ธปท.ได้ประกาศไว้ สำหรับผู้โอนเงิน ดังนี้ 1. ไม่เกิน 5,000 บาท ต่อรายการ ฟรีทุกรายการ 2. มากกว่า 5,000 บาทต่อรายการ ไม่เกิน 2บาท/รายการ 3. มากกว่า 30,000 บาทต่อรายการ ไม่เกิน 5บาท/รายการ 4. มากกว่า 100,000 บาทต่อรายการ ไม่เกิน 10 บาท/รายการ***วงเงินสูงสุดตามที่แต่ละธนาคารกำหนด |
30. | ในการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ มีค่าบริการข้ามธนาคารข้ามเขตหรือไม่ | บริการพร้อมเพย์เป็นการปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียม ให้เอื้อประโยชน์ต่อการโอนเงินรายย่อยเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สะดวกขึ้นจึงไม่มีการแบ่งแยกรายการในเขต/ข้ามเขต หรือรายการในธนาคารเดียวกัน/ต่างธนาคาร |
31. | ถ้าโอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน เขตเดียวกัน ซึ่งไม่เคยเสียค่าบริการ แล้วมาใช้บริการพร้อมเพย์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่ | ขึ้นอยู่กับวงเงินการโอน ซึ่งถ้าวงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการไม่เสียค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการสามารถเลือกการโอนเงินแบบเดิมที่ใช้เลขที่บัญชีภายในธนาคารเดียวกัน ในเขตเดียวกัน ที่ไม่เสียค่าธรรมเนียมได้ ข้อสังเกต: บริการพร้อมเพย์เป็นอีกหนึ่งบริการซึ่งเป็นทางเลือกของผู้ใช้บริการ ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นโดยการใช้บริการขึ้นอยู่กับความพอใจ สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน และความสะดวกของผู้ใช้บริการแต่ละราย |
รายละเอียดประกอบการพิจารณา
ช่องทางการติดต่อ


