ธนาคารไทยเครดิต คว้ารางวัลระดับเอเชีย ACES Awards 2023 ตอกย้ำภาพธนาคารที่พึ่งของชุมชน

ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ธนาคารไทยเครดิตเปรียบเหมือนแสงไฟส่องสว่างให้กับผู้ขาดโอกาสในประเทศไทย

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นเอกลักษณ์ เรียบง่าย และโปร่งใส ได้แก่ สินเชื่อเพื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี และสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อธุรกิจรายย่อย ให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยทั่วประเทศ โดยธนาคารฯ มุ่งมั่นสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่ปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความมั่นคงทางการเงินของผู้ประกอบการ
 

ธนาคารไทยเครดิตมีพันธกิจเพื่อให้บริการทางการเงินที่ดีที่สุดแก่ผู้ประกอบการรายย่อยทั่วประเทศ อีกทั้งส่งเสริมให้ลูกค้าทุกคนมีความรู้และวินัยทางการเงิน สร้างสรรค์องค์กรให้ทุกคนมีความกระตือรือร้นและภาคภูมิใจในสิ่งที่ร่วมกันทำ ตลอดจนสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ธนาคารไทยเครดิตตระหนักถึงความสำคัญในการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) จึงได้ดำเนินกิจการภายใต้หลักการความยั่งยืนในสามมิติ หรือที่เรียกว่า ESG คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ด้านสังคม (Social) และด้านธรรมาภิบาล (Governance) เพื่อสร้างการเติบโตทั้งด้านธุรกิจและสังคมในระยะยาว โดยธนาคารฯ ดำเนินการด้าน ESG ให้สอดคล้องไปกับเป้าการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้ปฏิบัติตามเป้าหมาย 8 ข้อจากทั้งหมด 17 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การสนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
 

เพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ธนาคารฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานด้าน ESG ของธนาคารฯ โดย นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีหน้าที่ดูแลการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังได้จัดตั้งระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environment and Social Management System: ESMS) และผสานการพิจารณาด้าน ESG เข้ากับกระบวนการสอบทานธุรกิจของลูกค้าตามที่ธนาคารฯ กำหนด

เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจ “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ” ธนาคารฯ ได้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และมุ่งมั่นที่จะเคารพตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งหมด รวมถึงกฎหมายบัญญัติด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International Bill of Human Rights) และปฏิญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization’s: ILO) ว่าด้วยหลักการพื้นฐานและสิทธิในการทำงาน ธนาคารฯ ยังกำหนดความคาดหวังของบุคลากร คู่ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนด้วย

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ขาดโอกาสในปัจจุบันคือ การให้ความรู้ทางการเงิน ธนาคารไทยเครดิตส่งเสริมความรู้ทางการเงิน และยังมีการวัดผล พัฒนา และติดตามผลที่ได้จากการส่งเสริมความรู้ทางการเงินผ่านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งการมีความรู้ทางการเงินจะช่วยป้องกันการตัดสินใจผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องเงินได้ ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้เกิดขึ้นได้
 

นอกจากนี้ ธนาคารไทยเครดิตยังได้ร่างนโยบายการกํากับดูแลกิจการ และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่าการบริหารจัดการของธนาคารฯ ดำเนินไปภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดีและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง โดยธนาคารฯ มีความเป็นธรรมและโปร่งใสตามมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

ธนาคารไทยเครดิตส่งเสริมการสร้างศักยภาพด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการเงิน ผ่านโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม โดยธนาคารฯ ได้กำหนดมาตรการประหยัดพลังงานในสำนักงาน เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ดำเนินโครงการรีไซเคิลและอัปไซเคิลวัสดุเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ไม่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนความก้าวหน้าในอาชีพการงานของพนักงาน นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นธรรมสอดคล้องกับนโยบาย “การกำกับดูแลการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม” (Market Conduct) จัดให้มีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมนโยบายสินเชื่อ และปฏิบัติตามนโยบาย “การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ” (Responsible Lending)

เป้าหมายสูงสุดของธนาคารไทยเครดิต คือ การสนับสนุนและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชน สนับสนุนการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินและเงินทุนอย่างเท่าเทียม ผ่านนวัตกรรมที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้ รวมทั้งการส่งเสริมความรู้และวินัยทางการเงินเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ