เข้าสู่ตอนที่ 2 กันแล้ว สำหรับ 10 กลยุทธ์การตลาดที่คุณหมอต้องรู้ และสำหรับในตอนที่ 2 นี้จะมีกลยุทธ์อะไรบ้างครับ

คุณหมอหลายท่านคงมีความมุ่งมั่นที่จะทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมายที่ตัวเองต้องการอยู่แล้ว แต่ต้องอย่าลืมว่าในการทำธุรกิจสถานพยาบาลขนาดเล็กอย่างคลินิก ถ้าสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดได้หลายๆ กลุ่มในเวลาเดียวกัน จะส่งผลดีกับธุรกิจมากกว่าการมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเพียงไม่กี่กลุ่ม เพราะฉะนั้นควรวางแผนการตลาดที่เป็นกลาง ไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายใดกลุ่มเป้าหมายหนึ่งมากเกินไป

กลยุทธ์นี้สัมพันธ์กับวิชาชีพเฉพาะสาขาโดยตรง ตัวอย่างเช่น กุมารแพทย์มีโอกาสต้อนรับคนไข้ ซึ่งเป็นเด็กๆ ในช่วงปิดเทอมมากกว่าเปิดเทอม ฤดูฝนมากกว่าฤดูหนาว ในช่วงที่ถือเป็น “ไฮซีซั่น” คลินิกควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น เช่น ขยายเวลาเปิดทำการ พิจารณาซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่อาจต้องใช้มากขึ้น พร้อมทั้งติดตามข่าวสารเรื่องโรคระบาด หรือกระแสต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพที่สังคมกำลังให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด อาจนำเสนอข้อมูลสุขภาพผ่านสื่อต่างๆ ที่สัมพันธ์กับเวชสถิติร่วมด้วย จะทำให้มีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงช่วงอื่นๆ ด้วย

จากการทำข้อมูลทางการตลาดในข้อแรก คุณหมอจะพอมีข้อมูลแล้วว่า ในพื้นที่เดียวกันมีคลินิกคู่แข่งประมาณกี่ราย คลินิกไหนดัง คลินิกไหนเงียบ เพื่อศึกษาข้อมูลความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ กลยุทธ์ด้านคู่แข่งขันไม่จำเป็นต้องทำสงครามราคา หรือตั้งตัวเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจน ตรงกันข้าม คุณหมอควรสร้างมิตรภาพกับเพื่อนร่วมอาชีพ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับโรงพยาบาลในพื้นที่ เพื่อเป็นส่วนเสริมคุณค่าการบริการของคลินิกให้สูงขึ้น เช่น กรณีที่มีคนไข้หนัก คุณหมอสามารถส่งตัวคนไข้ไปที่โรงพยาบาลใกล้เคียงได้ทันท่วงที สามารถขอส่วนลดของโรงพยาบาลให้กับคนไข้ได้ จะช่วยสร้างความประทับใจในบริการให้คนไข้ได้เป็นอย่างดี

ในทางการตลาด การสร้างแบรนด์ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความจดจำอันดับต้นๆ ดังนั้นถึงแม้มีความเชื่อว่า คนไข้มารับบริการเพราะความเชื่อมั่นในตัวคุณหมอ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องการสร้างแบรนด์ เพื่อให้คลินิกเป็นที่จดจำ
สิ่งสำคัญอย่างแรกในการสร้างแบรนด์คือ ชื่อคลินิก ควรเป็นชื่อที่จำง่าย ความหมายดี และมีความเฉพาะตัว เช่น หากคุณหมอจะใช้ชื่อตัวเองเป็นชื่อคลินิก ก็ต้องพิจารณาว่าเป็นชื่อที่จำง่ายหรือไม่ ถ้าไม่ ควรพิจารณาชื่ออื่นแทน และหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงคลินิกอื่น เพราะจะทำให้ผู้มารับบริการเกิดความสับสน
ต่อมาเป็นเรื่องตราสัญลักษณ์ หรือโลโก้ ควรออกแบบให้เรียบง่ายไว้ก่อน เพราะจะสร้างความจดจำได้ดีกว่าสัญลักษณ์ที่ยุ่งเหยิง ที่สำคัญคือ ต้องควบคุมการนำไปใช้งานอย่างรัดกุม เข้มงวดกับสัดส่วนและสีของโลโก้อย่างจริงจัง สัดส่วนและสีต้องถูกต้องตามที่ออกแบบมา 100% ทุกครั้ง เพราะโลโก้ที่ผิดรูปร่างในเอกสารต่างๆ จะส่งผลให้แบรนด์คลินิกดูไม่น่าเชื่อถือ ควรใช้โลโก้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการจดจำ และไม่เปลี่ยนโลโก้บ่อยๆ เช่น รูปดาวสามแฉกของรถเบนซ์ รูปตัว M สีเหลืองบนพื้นแดงของแมคโดนัลด์ หรือรูปเปลวไฟของปตท.