ถอดรหัสรวย ปรับไอเดียรถพุ่มพวง สู่ Start Up "Pok Pok"

มาร่วมถอดรหัสความสำเร็จจากผู้ก่อตั้ง คุณนาย นัฐพงษ์ จารวิจิต ถึงแนวคิดและวิธีการเริ่มต้นของ Start Up "จากรถพุ่มพวง สู่ รถอาหารเคลื่อนที่แสนอร่อย Pok Pok" ต้องมีวิธีการอย่างไร ในรายการ Success Story ถอดรหัสรวย


1. Start up แบบฉบับ Pok Pok
ถ้าเป็นธุรกิจทั่วไป เราจะเปิดร้านข้าวมันไก่ 10 สาขา ค่าใช้จ่ายในแต่สาขาจะเท่ากัน ถ้า 1 สาขา ใช้เงิน 1 ล้าน 10 สาขาก็ใช้เงิน 10 ล้าน แต่ Start up ถ้าจะโตแบบนั้น โตได้ร้อยเท่า พันเท่า เพราะทำ 1 ครั้ง หรือ ทำพันครั้ง ค่าใช้จ่ายแทบจะไม่ต่างกัน เพราะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

2. ใครๆก็เป็น Start up ได้
คุณนายบอกว่า คนที่จะเริ่มต้นทำ Start up จะจบอะไรมาก็ได้ แต่มีไอเดียในการทำธุรกิจ เขาสามารถทำได้ เพราะทุกอย่างมันเริ่มต้นจากการเป็นทีม ไม่ใช่คนเดียวต้องทำทั้งหมด ถ้าเรามีไอเดีย ดูแลทีมได้ รู้ว่าต้องใช้ใครทำงานไหน เพราะฉะนั้นทีมที่ดีก็จะต้องประกอบด้วยหลายๆส่วน แบ่งหน้าที่กันชัดเจนไม่ว่าจะเป็น การตลาด Programmer ดูแลเรื่องการเงิน บัญชี ภาษี  นั่นเอง

3. เริ่มต้นการทำ “แอปพลิเคชั่น”
พอรู้ว่าการทำ Start up มีแอปพลิเคชั่นด้วย แล้วตัวคุณนายเองเป็น Programmer อยู่แล้ว ก็เลยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่เขาทำทุกวันอยู่แล้ว เลยใช้ความรู้ ความสามารถของตัวเอง พัฒนาแอปพลิเคชั่นชึ้นมา

4. จุด Start ของ Pok Pok
พอสั่ง Food Delivery ก็ทำให้รู้ว่า หน้าร้าน 50 มาถึงเรา 90 แล้ว  เลยคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นของยุคนี้แล้วนะ จะมีอะไรไหม ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ ก็เลยเกิดเป็นไอเดีย Pok Pok  เริ่มมาคิดว่าทำแตกต่างจากคนอื่นทำยังไง ถ้าเป็น Food delivery มีค่า GP 35% เลยคิดถึงไอเดียรถพุ่มพวง เขาจะวิ่งไปตามสถานที่ หมู่บ้านต่างๆ และขายราคาปกติเลย แต่ขายทีเดียว ขายได้หลายๆคน แต่รถพุ่มพวงก็ยังขายไม่ตอบโจทย์กับคนในเมือง เลยไปได้ไอเดียมาจาก Food court ก็จะมีร้านดังจากย่านต่างๆในกรุงเทพฯ ถ้าเราลองนำร้านอาหารอร่อยๆ มาอยู่ในรถ Pok Pok ก็น่าจะเป็นไปได้ เลยทดลองทำดู

5. สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจให้สำเร็จแบบ Pok Pok
ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง ต้องปรับปรุงและแก้ไขอยู่ตลอด อย่ามี EGO ต้องหาลูกค้าเพิ่ม และรักษาฐานลูกค้าเก่าให้ดี เป้าหมายต้องชัดเจน อย่าง Pok Pok ก็วางแผนที่จะขยายให้ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงพื้นที่ต่างจังหวัด ถ้าเราอยากจะทำ ต้องลองทำเลย เริ่มต้นจากการตั้งเป้าจากการเรียนรู้ ธุรกิจจะต้องเลี้ยงตัวเองได้ เลี้ยงลูกน้องพนักงานได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือสามารถตอบแทนคืนสู่สังคมได้


ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล https://www.youtube.com/watch?v=leSeKXTubRo
เรียบเรียง : Thai Credit Micro Economic Development
#ตังค์โตKnowhow