ใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างไร ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

1.การตั้งรหัสผ่านอย่างปลอดภัย

  • ตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา และไม่ใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น 1234 หรือวัน เดือน ปี เกิด หรือเบอร์โทรศัพท์
  • ควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ เช่น เปลี่ยนทุก ๆ 3 เดือน
  • ระหว่างกดรหัสผ่าน ควรระมัดระวังคนแอบดูรหัสผ่านที่กำลังกด
  • ไม่ควรบันทึกรหัสผ่านไว้ในโทรศัพท์ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
  • ไม่ควรให้รหัสผ่านกับคนอื่น เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน แม้เป็นคนที่ไว้ใจ

2. หมั่นตรวจสอบเพื่อรักษาความปลอดภัย

  • หมั่นตรวจสอบรายการธุรกรรมทางการเงินเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการทำรายการอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต
  • หากพบปัญหาในการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ควรบอกรหัสผ่านกับเจ้าหน้าที่หรือผู้อื่นที่ให้ความช่วยเหลือ

3. ติดตั้งแอปพลิเคชันอย่างปลอดภัย

  • ควรอัปเดตซอฟต์แวร์ของโทรศัพท์มือถือเป็นเวอร์ชันล่าสุด
  • ก่อนการติดตั้งแอปพลิเคชัน ควรอ่านการขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและความเป็นส่วนตัวอย่างละเอียดเสมอ
  • ค้นหาและติดตั้งแอปพลิเคชันจาก Official Store เท่านั้น เช่น App Store หรือ Google Play Store
  • ไม่ควรเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ หรือ Wi-Fi ที่ไม่รู้จัก
  • ไม่ควรติดตั้งแอปพลิเคชันจากลิงก์ที่ผู้อื่นส่งมาให้

4.อย่าไว้ใจ อุปกรณ์และลิงก์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก

  • ควรสังเกต URL ทุกครั้งที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ทางการเงิน
  • URL ของ Google ที่ถูกต้อง ต้องเป็น https://google.com
  • เมื่อต้องการทำธุรกรรมทางการเงินในเว็บไซต์ของธนาคาร ควรพิมพ์ URL เว็บไซต์ของธนาคารด้วยตนเอง
  • หากได้รับอีเมลหรือ SMS ที่มีลิงก์ URL ห้ามคลิกลิงก์ในทันที
  • หากได้รับแจ้งว่าได้รับรางวัล ไม่ควรทำตามคำบอกทุกประการ
  • เมื่อได้รับโทรศัพท์จากคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่คาดว่าจะได้รับโทรศัพท์ ควรระมัดระวังคำตอบและไม่ทำตามคำบอก
  • เมื่อพบเห็น USB Thumb Drive หล่น ควรระมัดระวังและไม่นำมาเสียบเครื่องคอมพิวเตอร์ทันที

5.ป้องกันอย่างปลอดภัย

  • ควรล็อกหน้าจอโทรศัพท์เสมอเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • ควรปิดจอคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง เมื่อไม่อยู่หน้าเครื่อง
  • ควรสำรองข้อมูลสำคัญอย่างสม่ำเสมอ
  • หากได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ควรดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นให้ดีเท่าข้อมูลของตัวเอง
  • ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับคนแปลกหน้า
  • ไม่ควรส่งข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน ให้คนสนิทผ่านแชท